ปัจจุบันเครื่องสำอางเด็กได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงออก ไม่ว่าจะกิจกรรมในโรงเรียนที่มีกิจกรรมแต่งตัวงานปาร์ตี้ หรือเต้นรำ หรือกิจกรรมการประกวดร้องเพลง การประกวดดนตรีต่างๆ ทำให้เด็กๆจำเป็นต้องใช้เครื่องสำอางเพื่อความสวยงาม แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักมีความกังวลถึงความปลอดภัย ในการใช้เครื่องสำอางสำหรับผู้ใหญ่กับผิวหน้าเด็ก จึงมองหาผลิตภัณฑ์ดีๆที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับเด็กกันมากขึ้น นาทีนี้จึงนับเป็นโอกาสสำหรับนักสร้างแบรนด์เครื่องสำอางที่จะเจาะกลุ่มเครื่องสำอางเด็ก วันนี้วธูธรจำพาทุกท่านมาทำความเข้าใจในการสร้างเครื่องสำอางเด็กว่ามีข้อควรรู้อะไรบ้าง ตามมาอ่านกันเลยค่ะ
ผิวเด็กบอบบาง ไม่เหมือนผู้ใหญ่
เครื่องสำอางทั่วไปที่จำหน่ายตามท้องตลาด คิดค้นมาเพื่อผิวหนังของผู้ใหญ่ มีปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมสำหรับผิวของผู้ใหญ่ แต่ปริมาณเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับผิวเด็ก ผู้ใหญ่ใช้อาจไม่เกิดการแพ้หรือระคายเคือง แต่เด็กอาจจะเกิดอาการแพ้ เกิดผื่นแดง ผิวระคายเคือง หากสะสมอาจจะทำให้เกิดภูมิแพ้ได้ ผู้ใหญ่จึงควรให้ความสำคัญ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กค่ะ
สารเคมีที่ไม่ควรใช้กับเครื่องสำอางเด็ก
Paraben หรือ พาราเบน เป็นสารกันเสียที่ใส่ในเครื่องสำอาง สามารถต้านการเจริญเติบโตเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อราได้ดี แต่มีข้อมูลว่าเจ้าพาราเบนนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนทั้งเพศชายและหญิงได้ อาจนำไปสู่โรคร้ายอย่างมะเร็งเต้านม แต่ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลสรุปแน่ชัดถึงผลเสียของการใช้พาราเบนในปริมาณเล็กน้อย และพาราเบนก็ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ในกระทรวงสาธารณสุขบ้านเรา เช่น Methyl Paraben ไม่เกิน 0.4% และ Prophyl Paraben ไม่เกิน 0.14% เป็นต้น ดังนั้นในแง่ของการทำตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เราจึงควรหลีกเลี่ยงสารพาราเบน เพื่อความสบายใจของผู้บริโภค เพราะเมื่อมีคำว่า Paraben Free พ่อแม่มักเลือกซื้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผสมพาราเบนให้ลูก จริงไหมคะ?
Silicone หรือ ซิลิโคน เป็นสารเคมีที่มักใส่ในครีมทาผิว ทำให้เกิดการนุ่มลื่น ใช้งานง่าย หากใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมจนทำให้ผิวหนังอุดตัน เกิดการระคายเคืองหรือสิวได้ จึงไม่เหมาะสมกับการใช้ในเครื่องสำอางเด็ก
Propylene Glycol หรือ โพรไพลีน ไกลคอล คือสารเคมีที่ช่วยเรื่องการหล่อลื่น นิยมใส่ในผลิตภัณฑ์ในครีมหรือเจลเพื่อเพิ่มความนุ่ม ลื่น ใช้งานง่าย รวมถึงเป็นตัวละลายทำให้เนื้อครีมมีความเสถียร เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังสามารถช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นลดการเสียน้ำในผิว แต่การใช้ปริมาณสูงเกิน 5% อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนระคายเคืองได้ จึงไม่เหมาะสมกับการใช้ในเครื่องสำอางเด็ก
Triethanolamine (TEA) หรือไตร เอทาโนลาไมน์ คือสารเคมีที่นิยมใช้ในกลุ่มเครื่องสำอางทำความสะอาด กลุ่มชำระล้าง เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในผิวที่บอบบาง เช่นผิวเด็ก จึงไม่เหมาะสมใช้ในเครื่องสำอางสำหรับเด็ก
4 สัญญาณอันตรายจากการใช้เครื่องสำอางผู้ใหญ่กับผิวหน้าเด็ก
หากเด็กๆใช้เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการเหล่านี้ ผู้ปกครองควรหยุดการใช้แล้วพาไปพบแพทย์นะคะ
- ผิวมีผื่นแดง
ผิวจะมีผื่นแดงเป็นเม็ดเล็กๆ ทำให้เกิดอาการแสบคัน อาจเกาจนผิวถลอก หากเกิดอาการนี้ควรล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที
- มีสิวขึ้น อาจจะเกิดจากปิโตรเลี่ยมออยล์หรือซิลิโคน เกิดจากผิวเกิดอาการอุดตัน ควรดูแลทำความสะอาดมากขึ้น หากไม่หายควรนำไปพบแพทย์ค่ะ
- คันตาหรือตาแดง
การใช้เครื่องสำอางเช่น อายชาโดว์ มาสคาร่า อายไลเนอร์ กับตาเด็กๆ มักผสมสีและสารเคมีอาจให้การระคายเคือง และติดเชื้อ มีอาการคัน ตาแดง จนไปถึงกระจกตาเป็นแผลได้
- ปากแห้ง ปากลอก
การทาลิปสติกผสมสีและมีสารเคมี มักทำลายความชุ่มชื้นของปากเด็ก ทำให้ปากเด็กๆแห้งและลอก จนอาจจะเลือดไหลได้
หากต้องผลิตเครื่องสำอางเด็กต้องเลือกส่วนผสมอย่างไร?
ต้องเลือกส่วนผสมเน้นมาสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่อันตราย เช่น น้ำมันมะพร้าว เชียร์บัตเตอร์ สีผึ้ง น้ำมันรำข้าว ว่านหางจระเข้ เป็นต้น ที่มีการรับรองว่าปลอดภัยสำหรับเด็ก สามารถผลิตเครื่องสำอางเด็กได้ไม่ว่าจะเป็น พาเลท อายชาโดว์ทาตา บลัชออนปัดแก้ม ครีมบำรุงผิว หรือลิปสติก เป็นต้น
สินค้าแนะนำ